วัดชุมพรรังสรรค์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ผู้สร้างวัด คือ พระยากำแพงวงคราม (ซุ้ย) ในสมัยที่จังหวัดชุมพรตกอยู่ในอำนาจของพม่าเข้ายึดครอง ราษฏร์ตกอยู่ในความลำบาก และทุกข์ทรมาน นายซุ้ยได้สมทบกับพวกประมาณ ๓๐ กว่าคน เข้าตีค่ายพม่าได้สำเร็จ พวกพม่าหนีข้ามภูเขาหินของ เมื่อศึกสงบลงปรากฏว่านายซุ้นได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์ เป็นพระยาเพชรกำแหง สงครามในสมัยรัชกาลที่ ๓ ราษฏรทั่วไปเรียนท่านว่า พระยาตับเหล็ก เพราะมีอาคมคงกระพันชาตรี ท่านได้สร้างวัดเพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์
และเพื่อเป็นเกียรติประวัติของตนที่ได้ชนะศึก กอบกู้เมืองชุมพรและเพื่อเป็นพุทธบูชา ท่านได้ขนานนามว่า วัดราชคฤห์ดาวคะนอง เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในที่ลุ่มและติดกับแม่น้ำท่าตะเภา
เมื่อถึงฤดูฝนน้ำหลากเมืองชุมพร พระภิกษุและสามเณรไม่สามารถจำพรรษาที่วัดได้ ต้องละทิ้งวัดเพื่อหนีอุทกภัย คณะสงฆ์และราษฏร์เรียนกวัดนี้ว่า วัดท่าเภาเหนือ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการก่อตั้งทางรถไฟตัดทางสายใต้ ผ่านเมืองชุมพร เนื้อที่วัดได้แยกออกเป็นสองส่วน ทำให้พื้นที่วัดคงเหลือ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดลงผิดเป้าหมายมาลงในวัด อาคารเสนาสนะ พระอุโบสถ คงเหลือแต่พระพุทธปฏิมากรภายใน อุโบสถเพียงองคืเดียวนามว่า สมเด็จพระรอดสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๘๘ สงครามได้ยุติลง พระปลัดเปื้อน จันทสาโร เจ้าอาวาสได้พัฒนาและปฏสังขรณ์วัด หลังจากที่วัดร้างไปเป็นเวลา ๕ ปี
สมัยนั้นการพัฒนาวัดแสนยากลำบากในการหาวัสดุมาสร้างเสนาสนะ ต้องนำไม้มาจากประเทศพม่า และล่องมาทางแม่น้ำท่าตะเภา ท่านได้ถึงแก่มรณภาพใน ปี ๒๕๐๕
วัดชุมพรรังสรรค์ได้สละที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนศรียาภัย เป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในบริเวณวัด ผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน คือ นางสาวชื่น ศรียาภัย ต่อมาได้ไปตั้งอยู่ถนนพิศิษฐ์พยาบาล อาคารเรียนจึงว่างลง ท่านเจ้าคุณวิชัยธารโสภณ และคณะกรรมการสงฆ์มีมติจัดตั้งโรงเรียนราษฏร์ภายในวัดชื่อว่า โรงเรียนพุทธยาคมศรียาภัย ต่อมาในปี ๒๕๐๐
ครธสงฆ์ได้เปลี่ยนชื่อวัดท่าตะเภาเหนือเป็น วัดชุมพรรังสรรค์ ซึ่งปัจจับันเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง